คำนำ

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Ageing Society ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา และคาดการณ์ประชากรในปีพ.ศ. 2578 จะมีประชากรสูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society)

สังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้จะมีผลกระทบต่อสังคมไทยโดยรวม ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุ คนในครอบครัว

จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเตรียมการสำหรับรองรับสังคมสูงวัย ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย 

โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีมติให้การดำเนินงานธนาคารเวลา เป็น 1 ใน 10 ประเด็นเร่งด่วนด้านผู้สูงอายุระหว่างปี 2561 – 2564 โดยคาดหวังให้ธนาคารเวลาเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ และรองรับสังคมสูงวัย

ซึ่งแนวคิดธนาคารเวลานี้ ได้ประยุกต์ใช้จากแนวคิดธนาคารเวลาที่มีการดำเนินการในต่างประเทศ ที่ต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเป็นสังคมสูงวัย 

แนวคิดนี้ได้แพร่หลายไปในหลายประเทศทั่วโลก จากแนวคิดหลักของ “ธนาคารเวลา” ที่ยึดหลักการที่เวลาของทุกคนมีค่าเท่ากัน นำไปสู่ “การรู้จักคุณค่าของตนเอง” ทุกคนมีทักษะ ความสามารถ การสร้างสัมพันธภาพที่ดี การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของผู้คนในพื้นที่เดียวกัน และก่อเกิดกลไกเชิงระบบของการดำเนินงาน “ธนาคารเวลา”

จากข้อมูลข้างต้น แม้ว่าแนวคิดธนาคารเวลานี้ จะเป็นแนวคิดใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย และมีความท้าทายในการสร้างความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่างๆ

จึงเป็นโจทย์สำคัญ ที่ สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมกันศึกษา ค้นหาแนวทางประยุกต์ใช้แนวคิดธนาคารเวลาเพื่อเป็นเครื่องมือ นวัตกรรมทางเลือกในการรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงพัฒนาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาวะในบริบทที่เหมาะสม

ช่วงที่ผ่านมา สสส. สนับสนุนการดำเนินงานธนาคารเวลาที่เกิดขึ้นในกว่า 80 พื้นที่ที่ใช้ธนาคารเวลาสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่าย

นำมาซึ่งการสร้างความร่วมมือ ร่วมใจระหว่างคนหลากหลายวัยในการช่วยเหลือดูแลกัน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เยาวชน ที่สามารถเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนธนาคารเวลานี้เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลกันเองของคนในชุมชน และเครือข่ายตัวเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

สสส. คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลถัดจากนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจที่สามารถเรียนรู้บทเรียนการทำงานในช่วงที่ผ่านมาของเครือข่ายต่างๆ

ทั้งบทเรียนการทำงาน การยกระดับและพัฒนาการดำเนินงานธนาคารเวลารองรับสังคมสูงวัยของเครือข่ายต่างๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของเครือข่ายพื้นที่

รวมถึงร่วมผลักดันให้ธนาคารเวลา เป็นหนึ่งในเสียงของนวัตกรรมสังคม ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเป็นนโยบายรองรับสังคมสูงวัยและสร้างเสริมสุขภาพในมิติที่เกี่ยวข้องได้

ภรณี ภู่ประเสริฐ

ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

WHAT

รู้จัก - เข้าใจ ธนาคารเวลา

ธนาคารเวลา เป็น แนวคิดการบริหารพื้นที่กลางการแลกเปลี่ยนบริการระหว่างสมาชิก โดยใช้ทักษะ และประสบการณ์ ของสมาชิกในกลุ่ม

“เวลา” ที่สมาชิกแต่ละคนใช้ทักษะ ประสบการณ์บริการให้แก่สมาชิกคนอื่น ๆ สามารถเก็บสะสมไว้ ในรูปแบบ “เครดิตเวลา” โดยมีการบันทึกไว้ในระบบข้อมูลกลาง ลักษณะเดียวกับการออมเงินในบัญชีธนาคาร

และเมื่อเจ้าของบัญชีต้องการรับบริการ ก็สามารถ “แจ้งขอรับบริการ”

และนำเครดิตเวลาที่ออมไว้ ตอบแทนที่สมาชิกอื่นจะมาบริการให้กับตนเอง ตามข้อกำหนดของธนาคารเวลาแต่ละแห่ง

ธนาคารเวลาบางแห่งยังเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถถ่ายโอนเครดิตเวลาที่ออมไว้ให้คนอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือชุมชน

ทำให้ “เวลา” มีสถานะที่ใกล้เคียงกับสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน อย่างสกุลเงิน

แสดงขั้นตอนการแลกเปลี่ยนบริการ (Service Exchange)ในธนาคารเวลา

ธนาคารเวลา จึงเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมตระหนักถึง เวลา ที่ใช้ทักษะให้บริการแก่สมาชิกที่ต้องการ ว่ามีคุณค่าและความสำคัญกว่าทรัพย์สินเงินทอง

ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การสร้างการมีส่วนร่วม และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน

รวมไปถึงการดูแลกลุ่มคนในชุมชนที่มีความต้องการเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของธนาคารเวลาแต่ละแห่ง

และที่สำคัญ การแลกเปลี่ยนในธนาคารเวลา อยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่า ทั้งผู้ให้และผู้รับต่างก็มี “ความเท่าเทียมกัน”

เพราะสื่อกลางที่เป็น “เครดิตเวลา” ของทุกคนมีค่าเท่ากัน(1 ชม. = 1 เครดิตเวลา) อันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่มี “ความเคารพซึ่งกันและกัน”

ค่านิยมหลัก 5 ประการ (แนวคิดหลักของธนาคารเวลา)

     “ค่านิยมหลัก 5 ประการ” จากหนังสือชื่อ “ไม่มีผู้ที่ถูกทิ้งอีกต่อไป” (No More Throw-Away People) เขียนโดย เอ็ดการ์ คาห์น (Edgar Cahn) ผู้ก่อตั้งธนาคารเวลาแบบร่วมสมัย

     ค่านิยมหลัก 5 ประการ เป็นหลักการสำคัญ ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะทำให้การพัฒนาธนาคารเวลาประสบความสำเร็จได้มากที่สุด ประกอบด้วย

ค่านิยมที่

อ้างอิง จาก คู่มือธนาคารเวลา โดย สสส.

เชิงปฏิบัติการ

1.

ทุกคนมีคุณค่า: ทุกคนมีประสบการณ์ที่มีคุณค่า สามารถแบ่งให้ผู้อื่นได้

ให้คุณค่ากับทักษะ (ความสามารถ) ในทุกระดับ โดยคิดเป็นหน่วยเวลา 1 ชม. ที่ใช้ทักษะ เท่ากับ 1 เครดิต

2.

งานแลกเวลา: ความหมายใหม่ของคำว่า “งาน” จากเดิมที่นิยามกันว่าคือสิ่งที่ทำเพื่อแลกกับ “เงิน” มาใช้ “เวลา” เป็นสื่อกลาง ทำให้งานบางอย่างที่เคยถูกมองข้าม ถูกเห็นคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น งานบ้าน การดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นต้น

ให้คุณค่ากับทุกการกระทำ แม้จะเล็กน้อย ว่าเป็น “งาน (บริการ)” โดยคิดเป็นหน่วยเวลา 1 ชม. การทำงานเท่ากับ 1 เครดิต

3.

ช่วยเหลือด้วยความเท่าเทียม: การแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม ความช่วยเหลือในธนาคารเวลาแตกต่างจากความช่วยเหลือส่วนใหญ่ ที่ผู้ให้ความช่วยเหลือมักพูดว่า “มีอะไรให้ช่วยไหม” โดยธนาคารเวลา ผู้ให้ความช่วยเหลือจะถามว่า “คุณอยากจะช่วยเหลือคนอื่นด้วยหรือไม่” สิ่งที่แฝงในคำถามที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ คือการส่งต่อคุณค่า “จิตอาสา” สู่ผู้รับความช่วยเหลือคนอื่น ๆ ต่อไป

เปลี่ยนการรับหรือให้ฝ่ายเดียว เป็นแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบเท่าเทียม

4.

ช่วยเกื้อกูล สังคมเข้มแข็ง: เครือข่ายสังคม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกัน และนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งได้

ส่งเสริมการสร้างทุนทางสังคม (ความไว้วางใจ + เครือข่าย + ความร่วมมือกัน) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชุมชนเข้มแข็ง

5.

เคารพอย่างเท่าเทียม: การเคารพซึ่งกันและกัน ธนาคารเวลาอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจึงเป็นการเคารพซึ่งกันและกัน

ส่งเสริมการให้เกียรติ + เคารพซึ่งกันและกัน โดยการยอมรับคุณค่าของทุกการมีส่วนร่วม

หนังสือ “No More Throw-Away People: The Co-Production Imperative” โดย Edgar Cahn เป็นหนังสือที่มีผลงานอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิดของการสร้างมูลค่าทางสังคมผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “co-production”

แนวคิดหลักของหนังสือนี้คือการท้าทายระบบเศรษฐกิจที่มองข้ามคุณค่าของบริการที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยเงิน เช่น การดูแลลูกหลาน, การสอนหนังสือ, หรือการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือพิเศษ

โดยเสนอว่าสิ่งเหล่านี้ควรถูกมองเห็นและมีมูลค่าในสังคมอย่างเท่าเทียมกับงานที่ได้รับค่าจ้าง

Cahn กล่าวว่า โดยการรับรู้คุณค่าของ “งานที่ไม่ได้ค่าตอบแทน” และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนบริการเหล่านี้ผ่านธนาคารเวลา เราสามารถสร้างสังคมที่ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง หรือ “ไม่มีคนเป็นส่วนเกิน” อีกต่อไป

ธนาคารเวลาเป็นระบบที่ผู้คนใช้เวลาของตัวเองเป็นหน่วยวัดในการแลกเปลี่ยนบริการ เช่น หนึ่งชั่วโมงของการสอนภาษาสามารถแลกเปลี่ยนได้กับหนึ่งชั่วโมงของการซ่อมแซมบ้าน

หนังสือนี้ยังหยิบยกเรื่องราวของบุคคลและชุมชนที่ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ในชีวิตจริง แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ

“No More Throw-Away People” ไม่เพียงแต่เป็นการเรียกร้องให้มีการยอมรับคุณค่าของงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนทั้งหมด แต่ยังเสนอแนวทางการสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน โดยที่ทุกคนมีบทบาทสำคัญและไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

แนวคิด : เพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้าน

           เป็นการนำค่านิยมหลักทั้ง 5 มาเป็นหลักปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนในธนาคารเวลา (ดังแสดงในตาราง)

ลำดับที่

ค่านิยมหลัก

แนวคิดเพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้าน

1.

ให้คุณค่ากับทักษะ (ความสามารถ) ในทุกระดับ โดยคิดเป็นหน่วยเวลา 1 ชม. ที่ใช้ทักษะ เท่ากับ 1 เครดิต

ไม่ว่าจะเก่ง หรือ แค่พอทำได้ก็จะได้รับการให้คุณค่าผ่านการตอบแทนด้วยเครดิต

2.

ให้คุณค่ากับทุกการกระทำ แม้จะเล็กน้อย ว่าเป็น “งาน (บริการ)” โดยคิดเป็นหน่วยเวลา 1 ชม. การทำงานเท่ากับ 1 เครดิต

ไม่ว่าจะงานใหญ่โต หรือ เล็กน้อยแค่ไหนก็จะได้รับการให้คุณค่าผ่านการตอบแทนด้วยเครดิต

3.

เปลี่ยนการรับหรือให้ฝ่ายเดียว เป็นแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบเท่าเทียม

เป็นทั้งผู้ให้ และ ผู้รับ

4.

ส่งเสริมการสร้างทุนทางสังคม (ความไว้วางใจ + เครือข่าย + ความร่วมมือกัน) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชุมชนเข้มแข็ง

ไว้วางใจ ร่วมมือกัน ในกลุ่มสมาชิก เพื่อเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง

5.

ส่งเสริมการให้เกียรติ + เคารพซึ่งกันและกัน โดยการยอมรับคุณค่าของทุกการมีส่วนร่วม

กลุ่มสมาชิกจะเคารพและให้เกียรติกันเสมอ

จากตารางจะพบว่า การให้และรับบริการแบบเพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้านในธนาคารเวลา สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเก่งหรือพอทำได้ จะให้บริการในงานเล็กหรือใหญ่ ก็จะได้รับคุณค่าเท่ากันผ่านการตอบแทนด้วยเครดิตเวลา ในขณะที่สมาชิกจะเป็นทั้งผู้ให้บริการและรับบริการที่ไว้วางใจ ร่วมมือ เคารพและให้เกียรติกันเสมอในกลุ่มสมาชิก

สมาชิกส่วนใหญ่ของธนาคารเวลา ใช้รูปแบบ “เพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้าน” โดยสมาชิกสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้บริการใด หรือรับบริการใดจากสมาชิกคนอื่น ๆ ทั้งนี้ สมาชิกของธนาคารเวลา มีทั้งที่เป็นบุคคล และที่เป็นกลุ่ม

การแลกเปลี่ยนในธนาคารเวลา แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. การแลกเปลี่ยนแบบ 1 : 1 หมายถึง การให้จากสมาชิกคนหนึ่งไป สู่อีกคนหนึ่ง
  2. การแลกเปลี่ยนแบบ 1 : กลุ่ม หมายถึง การให้จากสมาชิกคนหนึ่ง สู่กลุ่มสมาชิก
  3. การแลกเปลี่ยนแบบ กลุ่ม : 1 หมายถึง การให้จากสมาชิกกลุ่มหนึ่ง สู่สมาชิก 1 คน
  4. การแลกเปลี่ยนแบบ กลุ่ม : กลุ่ม หมายถึง การให้จากกลุ่มสมาชิก สู่กลุ่มสมาชิก

หลักการ

เปรียบเทียบจุดเด่น

ในสังคมไทยปัจจุบันมีกแนวคิดที่ส่งเสริมการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนทรัพยากรในรูปแบบที่นอกเหนือจากระบบเงินตรา

1 ในแนวคิดนั้นคือ “ธนาคารเวลา” ที่เป็นระบบการแลกเปลี่ยนงานบริการและทักษะระหว่างสมาชิกโดยใช้เวลาเป็นหน่วยสื่อกลาง

อาจมองว่าธนาคารเวลามีความคล้ายคลึงกับ “จิตอาสา” “ธนาคารความดี” หรือ “บาร์เตอร์”

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด จะพบว่าธนาคารเวลามีรายละเอียดและเป้าหมายที่โดดเด่นและแตกต่างออกไปอย่างน่าสนใจ

ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยแสดงให้เห็นจุดเด่นและความแตกต่างที่สำคัญของแต่ละแนวคิด เพื่อเข้าใจภาพรวมของระบบธนาคารเวลานี้มากยิ่งขึ้น

ธนาคารเวลา ทำอะไรบ้าง?

ธนาคารเวลา มีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเวลาตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยภารกิจสำคัญที่ธนาคารเวลาแต่ละแห่งจะต้องดำเนินการ เช่น

  • การรับสมัครสมาชิก
  • การจัดการข้อมูล ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการให้บริการของสมาชิก สิ่งที่ต้องการรับบริการจากสมาชิกอื่น ข้อมูลการแลกเปลี่ยนบริการ การตรวจสอบจำนวนเครดิตเวลา รวมทั้งข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ 
  • การจัด และติดตามกิจกรรม 
  • ดูแลช่วยเหลือสมาชิกเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น 
  • จัดทำรายงานสำหรับผู้บริหารธนาคารเวลา
  • การสื่อสาร ทั้งในกลุ่มสมาชิก และสื่อสารสาธารณะ 

 

ทั้งนี้ มีการจัดทำโปรแกรมซอฟต์แวร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสำหรับธนาคารเวลาเป็นจำนวนมาก เช่น Time Republik, Hour World’s Time and Talents, Community Forge ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารเวลามีการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ธนาคารเวลา เป็นของใคร?

จากการสำรวจข้อมูลธนาคารเวลาในประเทศต่าง ๆ พบว่า ยุคแรก ๆ เกิดจากการจัดตั้งโดยภาคประชาชน และในยุคต่อมา หลายประเทศมีการประสานความร่วมมือกันของภาคส่วนต่าง ๆ มากขึ้น โดยทั่วไป การผลักดันงานธนาคารเวลาเกิดขึ้นใน 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ 

  1. รูปแบบที่ 1 ขับเคลื่อน/ผลักดันจากภาคประชาชน พบในยุคแรก ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และพบรูปแบบนี้ในปัจจุบัน เช่น ประเทศอิสราเอล ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ เป็นต้น

  2. รูปแบบที่ 2 ขับเคลื่อน/ผลักดันโดยองค์กรพัฒนาของเอกชน (NGOs – Non-Governmental Organization) และองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (NPOs – Non-Profit Organizations) เช่น ประเทศแคนาดา ชิลี กัวเตมาลา สหราชอาณาจักร สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เกาหลีใต้ อินเดีย เซเนกัล โดยประเทศที่มี NGOs และ NPOs เป็นแกนหลักประสานความร่วมมือกับรัฐบาล ได้แก่ สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี และโปรตุเกส จนเกิดเป็นนโยบายของรัฐบาลร่วมผลักดันการดำเนินงานธนาคารเวลา และขยายการดำเนินงานไปทั่วประเทศ

  3. รูปแบบที่ 3 ขับเคลื่อน/ผลักดันโดยภาครัฐ อาทิ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้ความสำคัญกับการมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานมีจำนวนลดลง รัฐจึงให้ความสำคัญในการดำเนินงานธนาคารเวลา ส่วนประเทศออสเตรเลียกำหนดให้งานธนาคารเวลาเป็นนโยบายของรัฐ เนื่องจากต้องการให้ประชาชนมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น

ธนาคารเวลา มีกฎหมายรองรับ หรือเปล่า?

ธนาคารเวลาในบางประเทศ มีกลไกด้านกฎหมายรองรับ ซึ่งอาจเป็นการรับรองสถานะ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานในรูปแบบขององค์กรอาสาสมัคร หรือองค์กรไม่แสวงกำไร โดยไม่ใช้เงินในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมการช่วยเหลือ 

ในบางประเทศ กฎหมายระบุถึงการยกเว้นภาษีให้กับธนาคารเวลา เช่น ในสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ขณะที่ในประเทศนิวซีแลนด์ แม้จะมีกฎหมายรองรับ แต่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากกิจกรรมมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพตามความเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับเครดิตเวลาแทนเงิน ซึ่งรัฐบาลจัดว่าเป็นรายได้

ใช้ “เวลา” แลกกับอะไรได้บ้าง?

ขึ้นอยู่กับการกำหนดของธนาคารเวลาแต่ละแห่ง นอกจาก “เวลา” ที่ใช้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน “บริการ” ซึ่งเป็นการทำประโยชน์ซึ่งกันและกันแล้ว ธนาคารเวลาบางแห่งใช้เวลาแลกเปลี่ยน “สิ่งของ” ด้วยเช่นกัน (สำหรับบางพื้นที่จะให้ความเห็นกรณีใช้เครดิตเวลาแลกกับสิ่งของว่า อาจเป็นการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกับธนาคารความดี)

อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งธนาคารเวลาส่วนใหญ่ ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงการนำเวลามาเป็นสื่อกลางทดแทนเงิน เพื่อใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ แต่มักจะมีวัตถุประสงค์แท้จริงใน 4 ประเด็นหลัก คือ

  1. ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
  2. เสริมสร้างความเท่าเทียมทางสังคม
  3. พัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลสุขภาพ
  4. ส่งเสริมจิตอาสา

ใครใช้บริการธนาคารเวลาได้บ้าง?

ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคารเวลาแต่ละแห่ง โดยทั่วไป สมาชิกธนาคารเวลาจะเป็นรายบุคคล แต่ธนาคารเวลาหลายแห่งรับสมัครสมาชิกที่เป็นครอบครัว กลุ่ม หรือหน่วยงานด้วย 

ทั้งนี้ แนวคิดสำคัญ คือ สมาชิกของธนาคารเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว หรือหน่วยงาน ควรมีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ซึ่งจะทำให้การแลกเปลี่ยนบริการและความช่วยเหลือระหว่างกันเกิดขึ้นได้

WHY

สังคมไทยมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่แล้ว ทำไมต้องมีธนาคารเวลา?

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุว่า น้ำใจ แปลว่า ห่วงใย เอาใจใส่

สังคมไทยมีการช่วยเหลือเกื้อกูล ห่วงใย เอาใจใส่ซึ่งกันและกันผ่านการแสดงออกด้วยการกระทำต่างๆ

ซึ่งในค่านิยมหลักลำดับที่ 2 ได้ระบุถึงการให้คุณค่ากับทุกการกระทำ แม้จะเล็กน้อย เป็นการหมายรวมถึงการแสดงน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วย

จึงกล่าวได้ว่าธนาคารเวลา ทำให้น้ำใจได้รับการเห็นคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

ประเทศไทยเป็นประเทศจิตอาสา

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคนและองค์กรที่มีจิตอาสาเป็นจำนวนมาก โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับหลายหน่วยงาน จัดทำบัญชีองค์กรไม่แสวงผลกำไรในประเทศไทย ได้ระบุถึงการทำงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรและอาสาสมัครในประเทศไทยในปี 2551 มีมูลค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 1.6 ของ GDP (160,000 ล้านบาท) และจากผลการสำรวจและจัดอันดับ 153 ประเทศทั่วโลก ในปี 2554 พบว่า ประเทศไทยจัดเป็นประเทศอันดับที่ 9 ที่มีกิจกรรมการกุศล ถือเป็นอันดับ 1 ในเรื่องการบริจาคเงิน

3 ประสาน สร้าง “ธนาคารเวลา” ในประเทศไทย

การดำเนินงานธนาคารเวลาในประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นจาก 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนพื้นที่นำร่อง 44 แห่ง

โดย 3 หน่วยงานหลัก มีบทบาทหน้าที่สำคัญ ดังนี้

1) กรมกิจการผู้สูงอายุ

  • ศึกษาแนวคิด ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติของการดำเนินงานธนาคารเวลา และนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทและวัฒนธรรมไทย
  • จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
  • จัดทำระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการธนาคารเวลา
  • สนับสนุนการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่นำร่อง
  • นิเทศ ติดตาม และถอดบทเรียนการดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่นำร่อง


2) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

  • คัดเลือกพื้นที่นำร่อง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
  • ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่นำร่อง
  • ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุถอดบทเรียนการดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่นำร่อง


3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 44 พื้นที่นำร่อง

  • ออกแบบและจัดตั้งธนาคารเวลาแบบมีส่วนร่วม และมีการบูรณาการกับการดำเนินงานของอาสาสมัครและจิตอาสาที่ดำเนินการอยู่แล้ว
  • ดำเนินการใช้ธนาคารเวลาในกระบวนการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ และมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปบทเรียน
  • ร่วมเรียนรู้กับพื้นที่นำร่องผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนผ่านสื่อออนไลน์ การนำเสนอในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น

ใช้ธนาคารเวลาแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

  1. การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ทางการเงินที่ยากลำบาก: ผู้คนที่อาจไม่มีเงินเพียงพอสามารถใช้ทักษะหรือเวลาของตัวเองเพื่อแลกเปลี่ยนบริการที่ต้องการได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน

  2. สร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในชุมชน: ระบบนี้ช่วยเพิ่มความรู้สึกของการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในชุมชน ซึ่งส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น

  3. สนับสนุนการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน: โดยการให้ค่ากับการใช้บริการในท้องถิ่นและการใช้ทรัพยากรในชุมชน เช่น การแลกเปลี่ยนบริการทำสวน การซ่อมแซม หรือการดูแลเด็ก ช่วยลดการขนส่งและการบริโภคที่ไม่จำเป็น

  4. พัฒนาทักษะและประสบการณ์: ผู้คนสามารถใช้ธนาคารเวลาเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มทักษะของตนเอง แต่ยังช่วยให้คนอื่นได้รับประโยชน์จากความรู้นั้นๆ ด้วย

  5. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ: บางคนอาจไม่สามารถจ่ายเงินสำหรับบริการบางอย่างได้ แต่ด้วยธนาคารเวลา พวกเขาสามารถแลกเปลี่ยนบริการที่ต้องการได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

  6. ลดความเหลื่อมล้ำ: ทุกคนมีโอกาสใช้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะมีฐานะทางการเงินหรือสถานะทางสังคมอย่างไร ทุกคนมี ‘เวลา’ ที่เท่ากันในการแลกเปลี่ยน ซึ่งช่วยลดช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจ

  7. ส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์: การมีส่วนร่วมในชุมชนและการรู้สึกมีค่ามีประโยชน์สามารถเพิ่มระดับความพึงพอใจในชีวิตและลดอาการของความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิตโดยรวม

  8. การดูแลสุขภาพและการดูแลเด็ก: ระบบธนาคารเวลาสามารถให้บริการดูแลเด็กและผู้สูงอายุได้ในชุมชน ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเหล่านี้สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

  9. การศึกษาและการพัฒนาเด็ก: ผ่านการแลกเปลี่ยนทักษะและความรู้ ธนาคารเวลาสามารถช่วยให้เด็กๆ ได้รับการเรียนรู้และพัฒนาในด้านต่างๆ นอกเหนือจากสิ่งที่พวกเขาได้รับในระบบการศึกษาทั่วไป

  10. ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมตัว: โดยการทำให้ผู้คนจากภูมิหลังที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนบริการ ธนาคารเวลาสามารถช่วยส่งเสริมความเข้าใจและความเคารพระหว่างวัฒนธรรมและชุมชนต่างๆ

  11. การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ: ธนาคารเวลาช่วยเปิดโอกาสให้กับผู้ที่อาจไม่สามารถเข้าถึงตลาดแรงงานด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น อายุ ข้อจำกัดด้านสุขภาพ หรือสถานการณ์ทางสังคม เพื่อให้พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมและมีความสำคัญในเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการแลกเปลี่ยนทักษะและเวลา

  12. การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร: ในชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการเกษตรผ่านธนาคารเวลา เช่น การทำสวนชุมชนหรือการแลกเปลี่ยนผลผลิต สามารถช่วยเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและยั่งยืน ลดความพึ่งพาอาหารนำเข้าและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น

  13. การฟื้นฟูและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: การใช้ธนาคารเวลาในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การทำความสะอาดชายหาด การปลูกป่า หรือการดูแลพื้นที่สาธารณะ สามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

  14. การบรรเทาความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยี: ในยุคดิจิทัล การเข้าถึงเทคโนโลยีและการศึกษาด้านไอทีเป็นสิ่งสำคัญ ธนาคารเวลาสามารถช่วยให้ผู้คนที่อาจไม่มีทรัพยากรเพียงพอได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

  15. การสร้างความรับผิดชอบและความเป็นเจ้าของร่วมในชุมชน: การมีส่วนร่วมในธนาคารเวลาช่วยเพิ่มความรู้สึกของการเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเอง ส่งผลให้มีการดูแลรักษาและพัฒนาชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

  16. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต: ผ่านการแลกเปลี่ยนทักษะและความรู้ ธนาคารเวลาสนับสนุนให้ผู้คนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด ซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาส่วนบุคคล
HOW

ธนาคารเวลา ต้องใช้ทุนไหม ได้ทุนจากไหน?

ธนาคารเวลา ต้องมีทุนในการก่อตั้ง และการดำเนินงาน หลายแห่งมีแหล่งทุนจากสมาชิกและผู้สนับสนุน อาจเป็นบุคคล หรือหน่วยงานรัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุน 

ทุนในการจัดตั้งและดำเนินการธนาคารเวลา อาจได้มาโดยหลายรูปแบบ เช่น รายรับจากค่าสมาชิกแรกเข้า เงินบริจาค การสมทบทุนจากผู้นำองค์กร การระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ

“ทุน” ยังไม่ได้หมายถึง “เงินทุน” เพียงอย่างเดียว แต่อาจใช้กลไกการบริหารจัดการด้วย 4Ms ได้แก่ Man – คน Money – เงิน Material – ของ หรือวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ Management – การบริหารจัดการ สรุปได้ว่า ธนาคารเวลาจำเป็นต้องมีทุนซึ่งอาจมาจากแหล่งต่าง ๆ และไม่ได้มีเพียงเงินทุนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย

ธนาคารเวลา เล็ก - ใหญ่ แค่ไหน?

ธนาคารเวลาอาจมีจำนวนสมาชิกเพียง 20 คน หรือเพิ่มขึ้นจนถึงหลักพันคนก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น

ธนาคารเวลาต้องมีที่ตั้ง หรือที่ทำการไหม?

ธนาคารเวลาทุกแห่ง มีที่ตั้ง หรือที่ทำการ ที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้ อีกทั้งสมาชิกและผู้ที่สนใจสามารถติดต่อประสานงานได้โดยสะดวก ถึงแม้บางแห่งอาจมีระบบสนับสนุน เพื่อช่วยให้สมาชิกไม่ต้องเดินทางไปใช้บริการที่ธนาคารเวลาด้วยตัวเอง เช่น การสมัครสมาชิกผ่านออนไลน์ (อาจใช้ Google form) หรือการมีผู้ประสานงานช่วยติดต่อแทนให้ 

นอกจากนี้ พบว่าธนาคารเวลาหลายแห่ง ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงานภายในกลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานที่มีอยู่ก่อนหน้า เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น ก็จะใช้ที่ทำการของกลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานดังกล่าวเป็นที่ดำเนินงานธนาคารเวลา

ใช้เครดิตที่สะสมไว้ แลกบริการ 1 เครดิต / 1 ชม.