สสส. มุ่งขับเคลื่อน “ธนาคารเวลา” สู่การดูแลสังคมอย่างยั่งยืน

2560
เริ่มต้น
ทบทวนวรรณกรรม
  • ทบทวนวรรณกรรมธนาคารเวลาในต่างประเทศ และงานวิจัยประกอบการจัดตั้งธนาคารเวลาในประเทศไทย
2561
MOU
ธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
  • สังคมสูงอายุ: ระเบียบวาระแห่งชาติ (ปี 2561-2564) มีธนาคารเวลาเป็น 1 ในมาตรการเร่งด่วน
  • MOU ธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยระหว่าง สสส. และ กรมกิจการผู้สูงอายุใน 44 พื้นที่ชุมชนท้องถิ่น
2562
จัดตั้ง
วาระกลางของ สสส.
  • จัดตั้งธนาคารเวลานำร่อง โดยภาคี สสส.
    1. ธนาคารเวลา ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    2. ธนาคารเวลาชุมชนภูเขาทอง ต.เขาโกรกพม่า จ.นครสวรรค์
    3. ธนาคารเวลาพื้นที่เขตภาษีเจริญ
    4. ธนาคารเวลาเครือข่ายสวนโมกข์
  • ธนาคารเวลา ถูกกำหนดเป็นวาระกลางของ สสส.
2563
พัฒนา
ระบบ และ ต้นแบบ
  • พัฒนาระบบข้อมูลธนาคารเวลาโดย สสส. ร่วมกับ สวทช.
  • พัฒนาธนาคารเวลาต้นแบบ
    • ต้นแบบธนาคารเวลาในชุมชนท้องถิ่น ธนาคารเวลา ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    • ต้นแบบธนาคารเวลาชุมชนเมืองใน 6 พื้นที่ครอบคลุม 28 ชุมชน (เขตภาษีเจริญ สัมพันธวงศ์ ชุมชนบนพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เขตห้วยขวาง วังทองหลาง)
    • ต้นแบบธนาคารเวลาในองค์กร (ศูนย์บริการสาธารณสุข 56 โรงพยาบาลราชวิถี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2564
ขับเคลื่อน
ประเมินผลระยะที่ 1
  • จัดตั้งธนาคารเวลาจังหวัดสุรินทร์
  • ขับเคลื่อนธนาคารเวลาต่างๆ
  • ประเมินผลการดำเนินงานธนาคารเวลาในระยะที่ 1
2565
ขยายผล
ระบบ LINE Application
  • ขยายผลการจัดตั้งธนาคารเวลาพื้นที่ จ.ลำปาง เชียงราย
  • ขยายผลจัดตั้งธนาคารเวลาภาษีเจริญใน 7 ชุมชน
  • พัฒนาระบบข้อมูลธนาคารเวลาระยะที่ 2 และ LINE application โดย สสส. ร่วมกับ สวทช.
2566
ธนาคารเวลากลาง
จ. เชียงใหม่
  • จัดตั้งธนาคารกลาง จ. เชียงใหม่

     หลังจากที่ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 กำหนดให้ธนาคารเวลา เป็น 1 ใน 10 ประเด็นเร่งด่วนด้านผู้สูงอายุ ปี 2561 – 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เริ่มดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุไทย พร้อมกับมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการดำเนินงานธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ โดยมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมขับเคลื่อนธนาคารเวลา

เป้าหมายหลักของ สสส. ในการดำเนินงานโครงการธนาคารเวลา

เป้าหมาย : สร้างสุขภาวะ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมที่แตกต่างกัน

1.
สร้างความเข้าใจในหลักการ และการมีส่วนร่วม

สร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องผ่านการเข้าพบ การประชุม การใช้สื่อ ฯลฯ

2.
การพัฒนากลไก แนวทางการดำเนินงาน

พัฒนากลไก แนวทางการดำเนินการในพื้นที่นำร่องเครือข่าย

3.
การพัฒนาเครือข่าย

สนับสนุน และจัดกระบวนการเสริมศักยภาพ พัฒนาเครื่องมือช่วยเครือข่ายในการดำเนินงาน

4.
การจัดการความรู้ KM

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย

5.
การสื่อสารสาธารณะ

เผยแพร่ผลการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ

ผลผลิตระยะสั้น

  1. เกิดความเข้าใจและสามารถนำมาประกอบการพัฒนาแผนงานโครงการภายใต้ภารกิจของแผน
  2. เกิดพื้นที่/องค์กรนำร่องเพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม
  3. เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนขยายผล
  4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย

ผลผลิตระยะกลาง

  1. เกิดพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงานธนาคารเวลา
  2. เกิดเครือข่ายธนาคารเวลาเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ

ผลผลิตระยะยาว

  1. เกิด National Timebank

    เป้าหมายหลักของ สสส. ในการดำเนินงานโครงการธนาคารเวลา คือ การพัฒนานวัตกรรมระบบ กลไกต่าง ๆ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยให้เกิดกลไกและนโยบายที่สามารถดำเนินงานอย่างยั่งยืน ในเรื่องของการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม รวมทั้งสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขยายแนวคิดและโอกาสในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพได้ จึงนำมาหนุนเสริมกับงานของ สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. ซึ่งมีผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน ก่อนจะขยายแนวคิดนี้ไปเชื่อมภารกิจกับสำนักอื่นใน สสส.ต่อไป

บทบาทหลักของ สสส. ในการดำเนินงานธนาคารเวลา

   ได้แก่

  • สนับสนุนนักวิชาการ ได้แก่ ผศ.ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ ผู้อำนวยการโครงการธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัยภาษีเจริญ มหาวิทยาลัยสยาม และ ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) ทำการวิจัย ศึกษา เรื่องธนาคารเวลาของต่างประเทศที่มีผลงานในการดำเนินการเรื่องธนาคารเวลาอย่างชัดเจน และจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อเป็นตัวตั้งต้น สำหรับศึกษาแนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลาของไทย
  • สนับสนุน ภาคีเครือข่าย ที่มีความสนใจหาแนวคิดใหม่ในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยการสร้างต้นแบบการดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง ในระยะแรกมีพื้นที่ที่มีความพร้อมและสนใจเข้าร่วม 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ภาษีเจริญ พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ พื้นที่ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีพื้นที่สวนโมกข์ ซึ่งมีความสนใจในการทำงานเรื่องธนาคารเวลา มาร่วมเป็นทีมนำร่องเพิ่มอีก 1 แห่ง 


   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่นำร่องของภาคีเครือข่าย ถือได้ว่าบรรลุเป้าหมายหลักของ สสส. ในการพัฒนาการทำงานจากพื้นที่นำร่องไปสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบ และเริ่มดำเนินงานขยายผล มีหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจที่จะนำกลไกธนาคารเวลาไปใช้เสริมการทำงานในองค์กรประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับชุมชนที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ รวมทั้งยังมีการยกระดับการทำงานในพื้นที่เดิมให้สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น

   อย่างไรก็ตาม สสส. ยังคงเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแก่ภาคีเครือข่ายธนาคารเวลา เพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละพื้นที่สามารถพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และสามารถบริหารจัดการธนาคารเวลาให้ดำรงอยู่ได้ในระยะยาว รวมถึงการพัฒนา “ธนาคารเวลากลาง” สำหรับช่วยหนุนเสริมหรือเป็นตัวกลางในการประสานเชื่อมโยงให้เกิด “เครือข่ายธนาคารเวลา” และสามารถแลกเปลี่ยนเวลาข้ามธนาคารได้ในอนาคต 

   นอกจากมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการสร้างต้นแบบธนาคารเวลาในระดับปฏิบัติการ และสนับสนุนเชิงวิชาการดังที่กล่าวมาข้างต้น สสส.ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในความร่วมมือกับหน่วยงานหลัก ทั้งในระดับชาติอย่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รวมถึงกระทรวง กรมต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเชื่อมประสานการดำเนินงานให้มีการสนับสนุนภารกิจซึ่งกันและกัน อันจะเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีความยั่งยืนได้ในอนาคต